จำนวนการจัดสร้าง 25000 องค์ มีรายละเอียด ดังนี้
- เนื้อว่าน สร้าง 2000 องค์ จะตอกโค๊ด อุ
- เนื้อเหลือง สร้าง 2000 องค์ จะตอกโค๊ด มะ
- เนื้อผงธูป สร้าง 2000 องค์ จะตอกโค๊ด อะ
- เนื้อขาว สร้าง 19000 องค์ จะตอกโค๊ด นะ
ความหมายของคำว่า ” นะมะอะอุ
“นะ” หมายถึง พ่อ
“มะ” หมายถึง แม่
“อะ” หมายถึง พระรัตนตรัย
(พระพุทธ-พระธรรม-พระสงฆ์)
“อุ” หมายถึง พระอุปัชฌาย์-ครูบาอาจารย์
ซึ่งผู้ใดมีความกตัญญูรู้คุณ ทำความเคารพ
บุคคล ๔ จำพวกนี้อย่างเหนือหัวยิ่งยวดเสียแล้ว
ย่อมเป็นที่อนุโมทนาของบุคคลทั่วไปที่พบเห็น
รวมไปถึงเทพยดาทุกชั้นฟ้า ไปที่ไหนย่อมตกน้ำไม่ไหล-ตกไฟไม่ไหม้ ทำมาหากินย่อมมีแต่ความเจริญ ก้าวหน้า เจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน ไม่ตกอับ ยากจน หรือดวงตกเลย …
คำว่า “นะ-มะ-อะ-อุ” ถือว่า เป็น”สุดยอดแห่งพระคาถา” ทั้งมวล
และมี ” มหาอนุภาพ ” เด่นในทางด้าน โชคลาภ มหาเสน่ห์ขั้นสูง แคล้วคลาด คุ้มครอง ป้องกันภัย
ขอเชิญร่วมบุญประทายข้าวเปลือกประจำปี 2567 วัดพระธาตุหมื่นหิน อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ในวันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2567 นี้ ท่านที่ถวายข้าวเปลือก 20 กก. หรือ 260 บาท จะได้รับพระผงของขวัญ เป็นที่ระลึก จัดสร้างเพียง 25,000 องค์ เท่านั้น พระผงของขวัญชุดนี้เป็นมวลสารเนื้อผงพุทธคุณเดียวกันกับพระปิดตารวยไม่ยั้ง สร้างจากตำราอีสาน และ มีพระผงจากทั่วเมืองไทยที่มีผู้มีจิตรศรัทธาถวายพระธาตุหมื่นหินมานับพันรายการ รวมทั้งมวลสารศิลาแลงพระธาตุพนม
โดยพระครูสุธรรมเจติยาภรณ์, ดร. (จำรัส ชวนปญฺโญ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เมตตามอบมวลสารศิลาแลงศักดิ์สิทธิ์อิฐพระธาตุพนมเพื่อสร้างพระผงของขวัญที่ระลึกบุญประทายข้าวเปลือก วัดพระธาตุหมื่นหิน ปี 2567
ทั้งนี้อิฐพระธาตุพนมทั้งหมดที่ได้เกิดขึ้นจากการบูรณะการทำท่อสายไฟซึ่งออกจากองค์พระธาตุพนม ซึ่งไม่มีการขุดเจาะพื้นองค์พระธาตุมายาวนานมาก การนี้ได้พบหินศิลาแลง อิฐดินจี่ อิฐยุคเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก และปูนสะทายเพชรซึ่งบ่งบอกถึงอายุและประวัติการบูรณะมาหลายครั้ง และการนี้เป็นการขุดพบศิลาแลงเป็นครั้งแรกซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าศิลาแลงนี้มีอายุการบูรณะราวยุคอาณาจักรขอมราว 1000 ปี อยู่คู่พระอุรังคธาตุมายาวนาน
“หลวงปู่ศิลาท่านกล่าวว่าเศษอิฐเศษดินพระธาตุพนมมีเทวดารักษาอยู่มาก”
แม้ใครเก็บมาไว้บ้านก็ได้นำไปคืนทุกครั้ง แต่ถ้าหากเป็นการนำเศษอิฐที่จะทิ้งเหล่านั้น นำมาสร้างเป็นองค์พระปฏิมา สัญลักษณ์แห่งความดีงาม อิฐนั้นก็จะขลังยิ่งนัก อิฐตรงนี้เสกมานับครั้งไม่ได้ ผู้นำไปบูชาจะเกิดความสุขสวัสดิ์ แคล้วคลาดปลอดภัย อุดมด้วย โภคทรัพย์ บริวาร ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ ด้วยเดชะอำนาจบารมีแห่งองค์พระธาตุพนม อิฐชุดเดียวกันที่ใช้สร้าง สมเด็จศิลาแลง พระศรีอริยเมตไตรยเทวานิมิต ของหลวงปู่ศิลา สิริจันโท เมื่อปี 2563
ความหมายของประทายข้าวเปลือก
ประทาย แปลว่า เจดีย์ทราย หรือ การเอาสิ่งที่คล้ายกันมากองเป็นเจดีย์ เช่น ประทายข้าว ก็คือการเอาข้าวเปลือกมากองกันเป็นเจดีย์ ว่ากันว่ามีอานิสงส์มากมาย เช่น
1.เป็นผู้ไม่อดอยาก เป็นผู้ไม่รู้จักคำว่าอดอยาก
2.เป็นผู้ไปอยู่ที่ไหน ไปที่ไหนก่อมีแต่ความเจริญงอกงามเหมือนดั่งข้าวเปลือก
3.เป็นผู้มีทรัพย์มาก
4.เป็นผู้มีบริวารมาก
5.เป็นที่รักของคนทั้งหลาย
6.เป็นผู้มีชื่อเสียงดีงาม
7.เป็นผู้ผิวพรรณดี
8.เป็นผู้ที่เดินทางไปไหนมาไหน อยู่ที่ไหนก่อไม่ขาดแคลนอาหารการกิน มีคนคอยช่วยเหลืออุปถัมภ์ค้ำชู ฯลฯ
บุญประทายข้าวเปลือกเป็นอีกบุญที่สำคัญทางภาคอีสานเพื่อตอบแทนคุณข้าว หลวงปู่ศิลา สิริจันโท ให้นำข้าวเปลือกส่วนหนึ่งเก็บไว้แจกญาติโยม ในยามเกิดอุทกภัยเหมือนดังเช่นปี 2566 ที่ผ่านมา
วาระการปลุกเสก
5 กพ. หลวงปู่ศิลาสิริจันโท ปลุกเสกเดี่ยว
6 กพ. เสกวัดอาวุธวสิการาม(แม่ชีบุญเรือน)
7 กพ. เสกวัดปากน้ำ
**หลวงปู่ศิลาปลุกเสกเดี่ยว อีกรวมทั้งสิ้น 36 วาระ***
เมื่อวันที่ 6 กพ.2567 พระธรรมวชิรสุธี (ทองดี ฐิตายุโก) ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๐ (ธ) เจ้าอาวาสวัดอาวุธวิกสิตาราม พระอารามหลวง กรุงเทพมหานคร เมตตาอธิษฐานจิตวัตถุมงคลพระผงของขวัญ ที่ระลึกบุญประทายข้าวเปลือก วัดพระธาตุหมื่นหิน ประจำปี 2567 ในการนี้พระเดชพระคุณให้นำวัตถุมงคลขึ้นประกอบพิธีบนศาลาที่ประดิษฐานรูปเหมือนคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม อันเป็นที่เคารพสักการะของสาธุชนทั้งหลาย นับว่าเป็นวัตถุมงคลรุ่นแรกที่ได้มาประกอบพิธีตรงนี้