หลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม หลวงพ่อพัฒน์ วัดห้วยด้วน

 

หลวงพ่อพัฒน์  ปุญฺญกาโม

 

วัตถุมงคล

          พระราชมงคลวัชราจารย์ หรือ หลวงปู่พัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2465 ที่บ้านสระทะเล ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ โยมบิดาชื่อพ่อพุฒ โยมมารดาชื่อแม่แก้ว ก้อนจันเทศ ท่านได้เข้ารับการอุปสมบทเมื่อ พ.ศ. 2489 ณ วัดสระทะเล โดยมี พระธรรมไตรโลกาจารย์ หรือ หลวงปู่ยอด วัดเขาแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่กัน วัดเขาแก้ว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอธิการชั๊ว วัดสระทะเล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ปุญฺญกาโม”

          หลวงพ่อ พัฒน์ วัด ธารทหาร (วัดห้วยด้วน)  อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ศิษย์หลวงพ่อเดิม

ผู้สืบทอดพุทธาคม

1.หลวงพ่อเทศน์ วัดสระทะเล (เป็นหลานแท้)

2.หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ

3.หลวงปู่อิน วัดหางน้ำสาคร

4.หลวงพ่อหมึก วัดสระทะเล (เป็นหลาน)

5.หลวงพ่อ โหมด วัดโคกเดื่อ

           มีเรื่องเล่าขาลถึงตอนกอนที่หลวงพ่อเทศจะมรณภาพว่า หลวงพ่อเทศได้สั่งให้หลวงพ่อเดิม หลวงพ่ออินและหลวงพ่อหมึกว่า.. ในปีจอถัดไปจะมีลูกหลานของท่านมาเกิด เพื่อรับใช้พระพุทธศาสศนาไปจนตลอดอายุขัย ลูกหลานคนนี้จะมาสืบทอดกรรมฐาน และพุทธาคมที่ท่านได้ถ่ายทอดเอาไว้ ขอให้ลูกศิษย์ทุกคนช่วยกันอบรมสั่งสอนถ่ายทอดวิชากรรมฐานและพุทธาคมให้ด้วย.. เมื่อลูกศิษย์ทั้งหลายได้ฟังก็ตั้งตารอคอยว่าจะมีเด็กคนใดในตระกูลของหลวงพ่อเทศเกิดขึ้นมาตามที่หลวงพ่อเทศได้ทำนายไว้บ้าง

           กระทั่งวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2465 ครอบครัวหลานหลวงพ่อเทศที่ชื่อ นายพุฒ ก้อนจันเทศ และนางแก้ว นามสกุลเดิม(ฟุ้งสุข) ซึ่งอยู่ที่หมู่ 7 บ้านสระทะเล ต.ย่านมัทรี อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ได้คลอดบุตรคนหนึ่งออกมาและได้ตั้งชื่อให้ว่าเด็กชายพัฒน์.. เจ้าอาวาสวัดสระทะเล(ต่อจากหลวงปู่เทศ) ผู้เป็นลุงได้ทราบข่าวจึงรู้ได้ทันทีว่าหลานชายคนนี้คือลูกหลานคนที่หลวงพ่อเทศได้สั่งไว้ เพราะเกิดในปีจอตามที่หลวงพ่อเทศบอก จึงรีบส่งข่าวไปยังหลวงพ่ออิน หลวงพ่อเดิม ทันที..!!! เมื่อพระเกจิทั้งสามรูปได้ทราบข่าวแล้ว ก็ได้แต่เฝ้ารอเวลาที่เหมาะสมจะปฏิบัติตามคำสั่งเสียของหลวงพ่อเทศผู้เป็นอาจารย์ โดยตกลงกันว่า หลวงพ่อหมึก วัดสระทะเลผู้เป็น หลวงลุงแท้ๆของเด็กชายพัฒน์และหลวงพ่ออินซึ่งสนิดสนมกับครอบครัวของเด็กชายพัฒน์ (ครอบครัวของเด็กชายพัฒน์เป็นคนส่งปิ่นโต ถวายให้หลวงพ่ออินระหว่างที่หลวงพ่ออินมาเรียนกรรมฐานและวิชาอาคมกับหลวงพ่อเทศ) จะเป็นผู้สอนกรรมฐานและวิชาอาคมพื้นฐานให้ ส่วนหลวงพ่อเดิมจะเป็นผู้ถ่ายทอดพุทธาคมชั้นสูงรวมถึงวิชามีดหมออันโด่งดังให้กับเด็กชายพัฒน์ด้วยตนเอง… เรียนวิชาภาษาไทย-ขอม วิปัสสนากรรมฐานและอาคมเบื้องต้น..

          ต่อมาเมื่อเด็กชายพัฒน์เติบโตขึ้นจนอายุได้ 5 ขวบ ขณะนั้นทางบ้านสระทะเลได้เกิดภัยแล้งขึ้น ทำให้ครอบครัวของเด็กชายพัฒน์ ต้องอพยพไปทำนาที่บ้านหนองเนิน อ.ท่าตะโก ครอบครัวของเด็กชายพัฒทำนาอยู่ที่นั่นได้เพียง 3 ปี

          ชะตาฟ้าลิขิต..!!!

บิดาของเด็กชายพัฒน์ได้ย้ายมาทำนาที่บ้านหนองหลวง ให้เป็นดังคำกล่าวของหลวงพ่อเทศ เนื่องจากในเวลานั้นหลวงพ่อเดิมและหลวงพ่ออินได้นำช่างทั้งเจ้าคูณและนางบัวบานมาร่วมกันสร้างเสนาสนะให้วัดหนองหลวงอยู่พอดี เมื่อหลวงพ่อเดิมรู้ว่าเด็กชายพัฒน์มาอยู่ที่บ้านหนองหลวงจึงขอให้หลวงพ่ออินซึ่งเป็นศิษย์ผู้น้องหลวงพ่อเดิม และสนิทกับครอบครัวของเด็กชายพัฒน์ ไปขอเด็กชายพัฒน์มาเป็นลูกศิษย์อยู่ที่วัดหนองหลวง

           เหตุนี้เองที่ทำให้เด็กชายพัฒน์ได้ใกล่ชิดกับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ โดยหลวงพ่อเดิมมักจะเรียกเด็กชายพัฒน์ไปบีบนวดและสอนคาถาสั้นๆให้ท่องจำเสมอๆจนคุ้นเคยกัน… กระทั่งศาลาวัดหนองหลวงเสร็จหลวงพ่อเดิมจึงกลับไปยังวัดหนองโพ ปล่อยให้หลวงพ่ออินอยู่สร้างวัดหนองหลวงต่ออีกหลายปีจนเสร็จ..

           ระหว่างนี้เด็กชายพัฒน์ได้ร่ำเรียนเขียนอ่านภาษาไทยและภาษาขอมกับหลวงอาน้อยและหัดนั่งสมาธิกับหลวงพ่ออิน เมื่อหลวงพ่ออินสร้างวัดหนองหลวงเสร็จแล้วท่านก็ได้กลับไปอยู่ที่วัดหางน้ำสาคร ส่วนครอบครัวของเด็กชายพัฒน์ได้กลับมาอยู่ที่บ้านสระทะเลตามเดิม

          ขณะนั้นเด็กชายพัฒน์อายุได้ 12 ปี จึงได้ย้ายกลับมาเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดสระทะเล จนจบประถมชั้นประถม 4 ก่อนที่พ่อและแม่จะให้ออกมาช่วยทำนา แต่ถึงกระนั้นด้วยความที่ฟ้าได้ลิขิตมาให้เด็กชายพัฒน์ต้องเติบโตขึ้นมาเป็นครูบาอาจารย์ผู้สืบทอดวิชากรรมฐาน และพุทธาคมของหลวงพ่อเทศ จึงทำให้เด็กชายพัฒน์มีความชื่นชอบในทางพระ ฝักใฝ่ในกรรมฐานและพุทธาคมอยู่เสมอ พอมีเวลาว่างจากการช่วยพ่อแม่ทำไรทำนา เด็กชายพัฒน์ก็มักชอบไปอยู่กับหลวงลุงหมึกเพื่อเรียนกรรมฐานและวิชาอาคมทุกครั้งไป..ทั้งๆที่เด็กหนุ่มๆในวัยนั้นทุกคนมักจะสนใจแต่สาวๆ แต่เด็กหนุ่มอย่างนายพัฒน์กลับคิดอยากจะบวชเป็นพระ ในขณะที่หลวงลุงหมึกได้ลาศิกขาจากพระมาเป็นอาจารย์ฆราวาส

          รับใช้ชาติ…

          พออายุครบเกณฑ์ทหารนายพัฒน์ได้ถูกคัดเลือกเข้าไปเป็นทหาร แต่ขณะที่จะหมดวาระปลดจากทหารเกณฑ์กลับเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา (สงครามโลกครั้งที่2) ขึ้นเสียก่อน จึงทำให้นายพัฒน์ต้องเป็นทหารต่อไปจนอายุได้ 24 ปี ระหว่างที่เป็นทหารอยู่นั้น.. พลทหารพัฒน์ได้ใช้วิชาอาคมที่ร่ำเรียนมาคุ้มครองป้องกันตัวอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้พลทหารพัฒน์รอดพ้นจากภัยสงครามมาอย่างปรอดภัยครบ 32 ประการอย่างน่าพิศวง ในขณะที่เพื่อนๆทหารหลายคนที่ออกรบด้วยกัน ต่างพิการบ้าง เสียชีวิตก็เยอะ แต่พลทหารพัฒน์กลับรอดพ้นภัยมาได้ทุกครั้งไปอย่างน่าอัศจรรย์ .. .

           อุปสมบทเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์

          เมื่อนายพัฒน์ปลดประจำการจากทหารออกมาในต้นปี พ.ศ.2489 นายพัฒน์ได้ขออนุญาตพ่อแม่ว่าอยากไปบวชเป็นพระ พ่อแม่ก็เห็นด้วยจึงให้ทำการอุปสมบท ณ อุโบสถวัดสระทะเล ต.ย่านมัทรี อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ โดยมีพระธรรมไตรโลกาจารย์(หลวงพ่อยอด ศิษย์หลวงพ่อเทศอีกหนึ่งรูป )วัดเขาแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงกัน วัดเขาแก้ว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการชั๊ว วัดสระทะเล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ปุญฺญกาโม”

          หลวงพ่อพัฒน์ได้เรียนพุทธาคมกับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์…

          โดยท่านพบกับหลวงพ่อเดิมที่วัดอินทรารามหลวงพ่อเดิมก็เริ่มถ่ายทอดกรรมฐานและพุทธาคมให้หลวงพ่อพัฒน์ โดยให้หลวงพ่อพัฒน์ไปจำวัดอยู่ที่วัดเขาแก้วกับหลวงพ่อกัน เพราะขณะนั้นวัดอินทรารามกำลังซ่อมสร้างเสนาสนะอยู่จึงไม่สะดวกในการพัก หลวงพ่อพัฒน์ได้เรียนวิชากับหลวงพ่อเดิมจนจบ โดยใช้เวลาเกือบสองพรรษาหลังจากหลวงพ่อเดิมได้สร้างเสนาสนะให้วัดอินทรารามเสร็จแล้ว ท่านก็กลับไปยังวัดหนองโพได้ไม่นาน หลวงพ่อเดิมก็ถึงแก่มรณภาพ ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2494

 

          หลวงพ่อพัฒน์ ได้รับสืบทอดวิชาจากหลวงปู่เทศ วัดสระทะเล…

          ซึ่งเป็นทวดผ่านทาง หลวงปู่เดิม วัดหนองโพ หลวงปู่อิน วัดหางน้ำสาคร หลวงปู่หมึก วัดสระทะเล ซึ่งหลวงปู่พัฒน์ มีศักดิ์เป็นหลาน และหลวงปู่โหมด วัดโคกเดื่อ ต่อมาจึงได้ไปเรียนวิชาทางเมตตามหานิยมกับ หลวงปู่ชุบ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง จังหวัดอุตรดิตถ์ และได้เป็นเจ้าอาวาสที่วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งนานถึง 6 ปี ก่อนกลับมาจำพรรษาที่ วัดสระทะเล ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของท่าน

          ต่อมาโยมบิดามารดาของหลวงปู่พัฒน์ ได้ย้ายไปประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่บ้านห้วยด้วน หรือบ้านธารทหาร และนายผล กำนันตำบลธารทหารในขณะนั้น จึงได้พาบิดามารดาไปอาราธนาให้ท่านมาจำพรรษาและพัฒนาวัดห้วยด้วนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน

          สร้างวัดสร้างโรงเรียนสร้างโรงพยาบาล…

สำหรับ วัดธารทหาร (วัดห้วยด้วน) สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๒ แต่เดิมเรียกว่า วัดห้วยด้วน ตามชื่อหมู่บ้าน เนื่องจากที่บ้านแห่งนี้มีลำคลองเล็กแยกมาจากห้วยน้ำสาดเหนือ และสิ้นสุดคลองลงที่นี่ จึงเรียกกันว่าห้วยด้วน ซึ่งได้เรียกเป็นชื่อหมู่บ้าน และต่อมาเปลี่ยนเป็น บ้านธารทหาร สืบต่อมาเท่าทุกวันนี้ด้วยความที่เป็นพระเกจิชื่อดัง จึงเริ่มมีชื่อเสียงอยู่ในศรัทธาของญาติโยมในพื้นที่อย่างรวดเร็ว ในแต่ละวันจึงมีญาติโยมเดินทางมากราบนมัสการ รับฟังธรรม ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ที่เข้มขลัง เสริมความเป็นสิริมงคลที่วัดอย่างไม่ขาดสาย อย่างไรก็ตามหลวงพ่อพัฒน์ มีความตั้งใจสร้างโรงพยาบาล สร้างโรงเรียน รวมถึงพัฒนาวัดและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ด้วยบารมีของท่านทำให้สำเร็จสมความตั้งใจโดยสร้าง บัญชีสร้างตึกสงฆ์พิธีวางศิลาฤกษ์วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม 2563 ณ โรงพยาบาลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
  1. บัญชี เพื่อสร้างอาคารอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลหนองบัว จำนวน 30,040,900 บาท
  2. บัญชี เพื่อซื้ออุปกรณ์การแพทย์ จำนวน 18,236,000 บาท
  3. บัญชี เพื่อกองทุนหลวงปู่พัฒน์ จำนวน 389,000 บาท รวม 48,665,900 บาท

เริ่มถวายเงินตามวัตถุประสงค์ ตั้งแต่วันนี้วันที่ 10 กันยายน 2563 เป็นต้นมา นอกจากนี้ท่านยังมีความเมตตามอบปัจจัยที่ได้จากการสร้างวัตถุมงคลของท่านช่วยเหลือวัดโรงเรียนและโรงพยาบาล หรือสถานที่ราชการรวมถึงสนับสนุนเงินเพื่อสาธารณะประโยชน์อีกมากมาย

         ลำดับสมณศักดิ์

          จนกระทั่งท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดธารทหาร และได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ที่ราชทินนาม พระครูนิวิฐปุญญากร กระทั่งปี พ.ศ. 2526 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลธารทหาร ต่อมาในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 20/2545 เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2545 มติที่ 310/2545 ที่ประชุมมีมติแต่งตั้งให้ พระครูนิวิฐปุญญากร เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะตำบลธารทหารจนถึงปัจจุบัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2564 ท่านได้รับพระราชทานพัดรองที่ระลึกงานบรมราชาภิเษก และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เลื่อนสมณศักดิ์ให้เป็นพระราชาคณะชั้นราชเป็นกรณีพิเศษที่ราชทินนาม “พระราชมงคลวัชราจารย์    ตามลำดับดังนี้

  • พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้รับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชแต่งตั้งให้เป็น พระครูประทวนสมณศักดิ์ ที่ พระครูพัฒน์ ปุญฺญกาโม
  • พ.ศ. ๒๕๒๖ ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะตำบลชั้นตรี ในราชทินนามที่ พระครูนิวิฐปุญญากร
  • พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้รับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชให้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะตำบลชั้นโท ในราชทินนามเดิม
  • พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบลชั้นเอก ในราชทินนามเดิม
  • ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์ขึ้นเป็น พระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชมงคลวัชราจารย์ ไพศาลศาสนกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

      วัตถุมงคล..

ด้านวัตถุมงคลจัดสร้างมอบให้ผู้ที่ร่วมทำบุญ ทุกรุ่นเป็นที่ยอมรับของบรรดาเซียนพระและนักสะสมกล่าวได้ว่า หลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม เป็นพระเกจิชั้นแนวหน้าอีกรูปที่เวลามีงานพุทธาภิเษกปลุกเสกพระเครื่องรุ่นต่างๆ ต้องได้รับนิมนต์ร่วมพิธีปลุกเสก พระเครื่องเป็นประจำอย่างขาดมิได้
 

ศิษยานุศิษย์อาลัยหลวงพ่อ…

หลวงพ่อพัฒน์ ได้มรณภาพอย่างสงบด้วยโรคชรา เมื่อวันศุกร์ ที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลาประมาณ ๐๑.๓๕ น. ณ โรงพยาบาลกรุงเทพ สิริอายุ ๑๐๑ ปี ๗๖ พรรษา