หลวงพ่ออิฏฐ์ วัดจุฬามณี

 

พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ สมโภชน์

 

หลวงพ่ออิฏฐ์ วัดจุฬามณี

 
          หลวงพ่ออิฏฐ์  ภทฺจาโร นาม พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ สมโภชน์ ฉายา ภทฺทจาโร สถานะเดิม  ชื่อสมโภชน์ นามสกุล อมรรัตนบดี  เกิด  วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๙๙ บิดาชื่อ นายพจน์ น้อยมา มารดาชื่อ นางประนอม ฮะประสาน เกิดที่บ้านเลขที่ ๗๘ ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม บรรพชา วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๔ ณ วัดบางกะพ้อม ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม อุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๐ ณ. วัดจุฬามณี ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม นามพระอุปัชฌาย์  พระครูโกวิทสมุทรคุณ วัดจุฬามณี นามพระกรรมวาจาจารย์ พระครูสมุทรบรรณวัฒน์ วัดเจริญสุขาราม พระอนุสาวนาจารย์ พระครูสมุทรสารโสภณ วัดบางกะพ้อม
 

วิทยฐานะ…  

พ.ศ.๒๕๑๒ สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนเทศบาล ๑ วัดนางวัง พ.ศ.๒๕๒๑ สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก สำนักศาสนศึกษา วัดจุฬามณี พ.ศ.๒๕๕๙ ได้รับปริญญาพุทธศาสตร์มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มจร.การศึกษาพิเศษ  มีความชำนาญ อ่าน – เขียน อักขระขอม-บาลีและความสามารถทางนวกรรม
งานปกครอง… 
พ.ศ.๒๕๓๒ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดจุฬามณี พ.ศ.๒๕๓๓ ได้รับแต่งตั้งเป็น พระกรรมวาจาจารย์ พ.ศ.๒๕๓๗ ได้รับแต่งตั้งเป็น พระอุปัชฌาย์ พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับแต่งตั้งเป็น รองประธานสภาครูสอนปริยัติธรรมอำเภออัมพวา พ.ศ.๒๕๖๑ ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะตำบลอัมพวา เขต ๑
 

สมณศักดิ์…  

พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพระครูฐานานุกรม ของ พระวิสุทธาธิบดี (ภทฺทจารี) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานครที่ พระครูวินัยธรสมโภชน์ ภทฺทจาโร  พ.ศ.๒๕๓๙ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพระครูฐานานุกรม ของ พระธรรมกิตติวงศ์ (สุรเตโช) วัดราชโอรสาราม กรุงเทพมหานคร ที่ พระครูปลัดกิตติมงคลวัฒน์ พ.ศ.๒๕๔๐ ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์ เป็น พระครูสัญญาบัตรเทียบผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก ในราชทินนามที่ พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ พ.ศ.๒๕๔๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เทียบผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นพิเศษ ในราชทินนามเดิม
การศึกษาวิชาจากคณาจารย์… 
1 .หลวงปู่สาย วัดหนองสองห้อง สมุทรสาคร ยันต์นกคุ้มกันไฟ
2.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพมหานคร ยันต์ตรีนิสิงเห
3.หลวงพ่อปึก วัดสวนหลวง สมุทรสงคราม เจิมเรือ
4.หลวงปู่ขวัญ วัดโพธิดก ราชบุรี ตะกรุดพระเจ้า 16 พระองค์
5.หลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม
6.หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสงคร
7.หลวงปู่หยอด วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม ไหม 5 สี,ตะกรุดโลกธาตุ
8.หลวงพ่อพิน วัดอุบลวรรณาราม ราชบุรี เหรียญมหาปราบ,หนุมานเชิญธง
9.หลวงพ่อพรหมวัดขนอนเหนือ พระนครศรีอยุธยานารายณ์แปลงรูป
10.หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา พระนครศรีอยุธยานะ ฉัพพัณนะรังษี
11.หลวงพ่อเก๋ วัดแม่น้ำ สมุทรสงครามตะกรุดจันทร์เพ็ญ
12.หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม เบี้ยแก้
13.หลวงพ่อสุธรรม วัดเขาพระ เพชรบุรี นั่งสมาธิสายวัดปากน้ำภาษีเจริญ
14.หลวงพ่อแผว วัดตะโหนดหลวง เพชรบุรี ลูกศร
15.หลวงพ่อจ่าง วัดเขื่อนเพชร เพชรบุรี ต่อกระดูก
16.หลวงพ่อไห วัดบางทะลุ เพชรบุรี แหวนพิรอด
17.โยมเหมือน อนันตรพีระ สมุทรสงคราม ใบมะนาวรักษาโรค
18.โยมหมอเย็น คำแหง สมุทรสงคราม วิชาหลวงปู่บ่ายวัดช่องลม
19.โยมวิทย์ จันหอม สมุทรสงคราม วิชาสายหลวงปู่อ่วมวัดไทรและหลวงปู่อยู่วัดน้อย
 

“ตำนานท้าวเวสสุวรรณอันเรื่องชื่อ”

          วัดจุฬามณี เป็นที่แรกๆ เพราะตำนาน การสร้าง ท้าวเวสสุวรรณ วัดจุฬามณีนั้นแตกต่างจากที่อื่น เนื่องด้วยพระอาจารย์อิฏฐ์ เจ้าอาวาสปัจจุบันของวัดฯ ได้ฝันเห็น “ท้าวเวสสุวรรณ” ในนิมิตนั้นองค์ท่านได้พาพระอาจารย์อิฏฐ์ไปเที่ยวชมยมโลกจนทั่ว พระอาจารย์อิฏฐ์จึงตั้งอธิษฐานเป็นสัจจะวาจาไว้ว่า ถ้ากลับไปในโลกมนุษย์ครั้งนี้จะทำการตั้งรูปปั้น “ท้าวเวสสุวรรณ” ไว้กลางวัดเสมือนเป็นการขอบคุณและการให้ความเคารพแก่ท่าน ในนิมิตพระอาจารย์อิฏฐ์ก็ ได้บอกความประสงค์นี้แก่ท่าน “ท้าวเวสสุวรรณ” ไป ท่านจึงบอกกลับมาว่า หากจะปั้นฉันจะต้องไปตามช่างปั้นท่านหนึ่งที่อยู่ในจังหวัดเพชรบุรี ต้องให้ช่างผู้นี้เป็นผู้ปั้นเท่านั้น และนั่นจึงกลายเป็นตำนานที่มา ที่ทำให้ “ท้าวเวสสุวรรณ” แห่ง “วัดจุฬามณี”ได้รับแรงศรัทธาจากผู้คนล้นหลาม กลิ่นธูปควันเทียนและเสียงสวด คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ จากคนทั่วทุกสารทิศจึงมาอบอวลอยู่ที่วัดจุฬามณีแห่งนี้ทั้งกลางวันและกลางคืน   ปัจจุบันพระครูโสภิตวิริยาภรณ์ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดจุฬามณี ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม  ในปี พ.ศ.๒๕๓๒ จนถึงปัจจุบัน
 
ขอขอบคุณข้อมูลจาก วัดจุฬามณี